วันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖

บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้ลูก หลานได้อ่าน

วันที่เขียนบันทึกครั้งนี้คือ วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันนี้เป็นวันที่คณะผู้ประท้วงรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ตั้งชื่อว่า วันมวลมหาประชาชนล้มระบอบทักษิณ โดยคณะแกนนำผู้ประท้วงมี 3 กลุ่มด้วยกันได้แก่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งได้ยอมลาออกจาก ส.ส. มาเป็นแกนนำ กลุ่มที่ 2 ที่ได้ประท้วงกันมานานกว่ากลุ่มคุณสุเทพ คือ กลุ่มของนายไทกร พลสุวรรณ ที่ได้สวนลุมเป็นสถานที่จัดตั้งม็อบ เลยเรียกว่า ม็อบสวนลุม ส่วนกลุ่มที่สาม โดยแกนนำ นายอุทัย ยอดมณี ผู้นำนักศึกษารามคำแหง ร่วมกับนายนิติธร ล้ำเหลือ (ทนายนกเขา) ได้ปักหลักประท้วงอยู่ที่ถนนอุรุพงษ์ จึงเรียกว่าม็อบอุรุพงษ์


ม็อบสวลุมพินี
ที่มา: ไทยรัฐ ฉบับวันที่   http://www.thairath.co.th/content/region/361478


ม็อบอุรุพงษ์
ที่มา ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 10 ต.ค. 2556 http://www.posttoday.com/media/content/2013/10/10/0BBED83EE761473ABCCA0768DC5A5D73.jpg



ม็อบสามเสน
ที่มา สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 4 พ.ย. 2556 http://www2.tnews.co.th/userfiles/image/1(435).jpg


สาเหตุของการประท้วงในครั้งนี้ มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น จากการตรวจสอบของฝ่ายค้านในเรื่องการทุจริตโครงการจำนำข้าว โครงการเงินกู้โดยออกกฎที่ฝ่ายค้านไม่สามารถตรวจสอบได้ และที่มวลประชาทุกคนยอมรับไม่ได้มากที่สุดคือ ความอหังการ ของ ส.ส.รัฐบาลเพื่อไทยในการออก พรบ.นิรโทษกรรมให้นายทักษิณ ชินวัตร พี่ชายนายกยิ่งลักษณ์ และแกนนำเสื้อแดง ซึ่งก่อนหน้านั้น ได้กระทำผิดกฏหมายจนถูกศาลอาญานักการเมืองได้ตัดสินลงโทษให้ติดคุก 2 ปี แต่ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศเสียก่อน

การออก พรบ.นิรโทษกรรม มีการยื่นในวาระแรกเพียงต้องการจะช่วยเหลือประชาชนผู้หลงผิดเข้าร่วมประท้วงในสมัยนายอภิสิทธิ์ เป็นนายก ในครั้งนั้นมีการทำผิดถึงขั้นเผาตึก ยึดถนนราชประสงค์ประท้วงนานหลายเดือน ทำร้ายทหาร และผู้ประท้วงโดยกองกำลังชายชุดดำ แต่เมื่อในขั้นตอนการตั้งกรรมการร่วมยกร่างมีการสอดแทรกข้อความให้มีการยกเลิกไม่เอาผิดกับการกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ นช.ทักษิณ ได้กระทำเอาไว้ ตั้งแต่ ปี 2547-2556 เช่น การฆ่าตัดตอน (ยาเสพติด) คดีการประท้วงของชาวบ้านที่ อ.ตากใบ จนมีคนเสียชีวิต 78 คน เป็นต้น และได้นำผลการแก้ไขในขั้นกรรมาธิการมาพิจารณาในสภาเสร็จสิ้น สามวาระในวันเดียวในเวลาตีสี่ ด้วยเสียงท่วมท้น 310 เสียง ทำให้เกิดความไม่พอใจให้กับประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทุกคน ซึ่งเห็นว่าเป็นการกระทำที่พวกมากลากไป และคิดว่ามีคนชักนำที่เป็นทักษิณควบคุมอยู่เบื้องหลัง กลุ่ม ส.ส.ที่ทักษิณ ซื้อตัวมาจำเป็นต้องยกมือ ตามคำสั่งเจ้านาย จึงถูกขนานนามว่า สภาทาส


บรรยากาศการประชุมสภา พรบ. นิรโทษกรรม
ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x385/cover/315276.jpg

ความคับข้องใจดังกล่าว จึงได้มีแกนนำการประท้วงดังกล่างข้างต้น และเชิญชวนให้ประชาชนคนไทยที่รักความเป็นธรรมออกไปเดินขบวน ในอาทิตย์วันที่ 24 พ.ย. 2556 ผลการเชิญชวนในครั้งนั้น มีผู้เข้าร่วมประชุมนับล้านคน ในขณะที่ CNN รายงานข่าวว่ามีประชาชนประมาณ สองล้านคน เข้าร่วมเดินขบวน


ความไม่พอใจของประชาชนทุกกลุ่มต่อ พรบ. นิรโทษกรรม

ในขั้นแรกกลุ่มของนายสุเทพ ได้จัดตั้งม็อบ ณ สถานีรถไฟสามเสน ตั้งเป้าผู้ชุมนุม สามแสนคนเมื่อได้ตามเป้าจึงได้เคลื่อนย้ายไปถนนราชดำเนิน ตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และตั้งเป้าผู้ชุมนุมหนึ่งล้านคน ดังนั้นในวันที่ 24 พ.ย. 2556 มีผู้ชุมนุมมืดฟ้ามัวดิน เต็มท้องถนนได้หลั่งไหลเข้ามาถนนราชดำเนิน


ม็อบราชดำเนิน ที่มา: เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x385/cover/475224.jpg

ในวันที่ 25 พ.ย. 56 จึงได้เปิดยุทธการดาวกระจาย แยกกลุ่มคนออกเป็น 13 กลุ่ม ด้วยกัน ได้แก่ กลุ่ม 1 นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณเคลื่อนขบวนไป สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง กลุ่ม 2.ไปกองบัญชาการทหารสูงสุด แจ้งวัฒนะ 3.กองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง 4.กอบทัพบก หา ผบ.ทบ. 5.กองบัญชาการกองทัพเรือ หา ผบ.ทร. 6.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 7. กองบัญชาการตำรวจนครหลวง 8.ช่อง3 9.ช่อง5 10.ช่อง7 11.ช่อง 9 mcot 12. ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และ 13.กระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อหาแนวร่วมจากกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนในกลุ่มสื่อสารมวลชนเพื่อให้ประชาชนสอบถามว่าองค์กรเหล่านั้นทำงานเพื่อใคร ส่วนสำนักงบประมาณก็มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานหยุดการทำงาน ปิดการใช้เงินของรัฐบาล และในวันนั้นเองนายสุเทพ ได้ปักหลักนำกลุ่มมวลชนพักค้างคืนที่นั้นอีกแห่งหนึงต่อไป

วันที่ 27 พ.ย. 56 ได้ดาวกระจายไปยังกระทรวงทุกกระทรวง ให้เจ้าหน้าที่หยุดการทำงาน และรณรงค์ให้ชาวบ้านที่อยู่ต่างจังหวัดให้ไปรวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัดเพื่อให้มีการหยุดการทำงาน ปรากฏว่ามีหลายจังหวัดที่ประชาชนได้ทำตามที่นายสุเทพพูด เช่น จังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล สุราษฎร์ฯ ภูเก็ต รวมทั้งจังหวัดในภาคอีสาน และภาคเหนือ ในวันนั้นเองตำรวจได้ขอให้ศาลอนุมัติออกหมายจับนายสุเทพ ข้อหากบฎ และร่วมกันทำความผิดฐานยุยงให้เกิดการหยุดงาน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ในขั้นต้นศาลได้ไม่อนุมัติในข้อหากบฏ แต่อนุมัติในข้อหาอื่น

อย่างไรก็ตามเมื่อมีประชาชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ทางรัฐบาลก็ยังไม่ยอมลาออกหรือยุบสภา และยังคงทำงานต่อไป ทั้งนี้ในวันที่ 26 และ 27 พ.ย. 56 มีฝ่ายค้านได้เสนอยัติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 

ความคืบหน้าจะเป็นอย่างไร สุดที่จะพยากรณ์ได้