วันพุธที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙

Internet of Things (IoT) ตอนที่ 1

Internet of Things: IoT แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง หนังสือบางเล่มจะเขียนในลักษณะ internet of (every) things เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจโดยตรงทันที ไม่ต้องมีคำอธิบายความหมายก็เข้าใจได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผลิตขึ้นมาตั้งแต่นี้เป็นต้นไปต้องให้สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตให้ได้”

IoT เกิดจากการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ในระดับนาโน มีสื่อสารอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ และทั่วโลกรองรับ มีตัว Sensor เกือบทุกชนิดเกิดขึ้นในราคาที่ถูก และมีระบบสมองฝังตัวแบบเดิมที่ใช้อยู่แล้ว และพัฒนาเป็นขนาดเล็ก และสร้างขึ้นมาได้ง่ายกว่าเดิม และสุดท้ายมี cloud computing ให้ใช้เพื่อเก็บข้อมูล และประมวลผล ดังนั้น มันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำเอาประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเข้าโลกอินเทอร์เน็ตมาจากที่ไหนก็ได้ ตลอดเวลา

ทิศทางที่แล้วมาและในอนาคตของ IoT

SRI เป็นองค์กรที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจได้เก็บข้อมูลและทำนายไว้ว่า นับตั้งแต่ปี 2000 มีการใช้ RFID ในธุรกิจ supply-chain ในระยะ 10 ปีต่อมาก็มีการนำมาใช้กับธุรกิจ การรักษาความปลอดภัย สุขภาพอนามัย การขนส่ง อาหารปลอดภัย และคาดว่าในปี 2020 จะมีระบบติดตามตัว ทราบตำแหน่งที่อยู่บุคคลได้ และคาดว่าต่อไปภาคหน้าจะเป็นยุคของ physical-world web ไม่ใช่ world wide web อีกต่อไปแล้ว

Gartner เป็นองค์กรที่สำรวจด้านกิจการต่างของวงการอินเทอร์เน็ต ได้พบว่า 10 ลำดับของเทคโนโลยีในปี 2016 นี้ มีดังนี้
10. ได้แก่ สถาปัตยกรรมและแพลตฟอร์มของ IoT
9. ได้แก่ App ที่เชื่อมโยงกัน และสถาปัตยกรรมบริการ (service architecture)
8. ได้แก่ ระบบสถาปัตยกรรมขั้นสูง (advanced system architecture)
7. ได้แก่ สถาปัตยกรรมความปลอดภัยที่ปรับตัวเองได้ (adaptive security architecture)
6. ได้แก่ ระบบชาญฉลาดอัตโนมัติ
5. ได้แก่ การสอนให้เครื่องจักรกลเรียนรู้ได้ในขั้นสูง (advanced machine learning)
4. ได้แก่ สารสนเทศของทุกสรรพสิ่ง (information of everything)
3. ได้แก่ 3-D printing
2. ได้แก่ ประสบการณ์การใช้งานของบุคคล
1. ได้แก่ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อถึงกัน

มาดูกันว่าเขากำลังทำอะไรกันอยู่กับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

องค์กรที่ชื่อว่า Eclipse foundation ได้สำรวจ พบว่าเทคโนโลยี IoT มากที่สุด และลำดับต่อมาดังภาพ




จะพบว่าลำดับ 1 ซอฟต์แวร์สมองฝังตัว ทิ้งห่าง Web และ Big data และอื่น ๆ

แนวการประยุกต์ใช้ในงาน IoT ได้แก่  

การขนส่ง  อาคารที่อยู่อาศัย สำนักงานฉลาด ๆ  เมืองฉลาด ๆ การใช้ชีวิตประจำวัน  เกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทานในธุรกิจส่งสินค้า งานด้านฉุกเฉิน สุขภาพ อนามัย ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน เป็นต้น

แล้วท่านผู้อ่านมีความคิดจะเอา IoT ไปทำอะไรให้โลกนี้น่าอยู่ น่าอภิรมณ์ บ้างครับ


---------------------------------------





1 ความคิดเห็น:

cbwongsaroj กล่าวว่า...

ขอบคุณครับ..