วันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖

บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้ลูก หลานได้อ่าน

วันที่เขียนบันทึกครั้งนี้คือ วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันนี้เป็นวันที่คณะผู้ประท้วงรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ตั้งชื่อว่า วันมวลมหาประชาชนล้มระบอบทักษิณ โดยคณะแกนนำผู้ประท้วงมี 3 กลุ่มด้วยกันได้แก่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ซึ่งได้ยอมลาออกจาก ส.ส. มาเป็นแกนนำ กลุ่มที่ 2 ที่ได้ประท้วงกันมานานกว่ากลุ่มคุณสุเทพ คือ กลุ่มของนายไทกร พลสุวรรณ ที่ได้สวนลุมเป็นสถานที่จัดตั้งม็อบ เลยเรียกว่า ม็อบสวนลุม ส่วนกลุ่มที่สาม โดยแกนนำ นายอุทัย ยอดมณี ผู้นำนักศึกษารามคำแหง ร่วมกับนายนิติธร ล้ำเหลือ (ทนายนกเขา) ได้ปักหลักประท้วงอยู่ที่ถนนอุรุพงษ์ จึงเรียกว่าม็อบอุรุพงษ์


ม็อบสวลุมพินี
ที่มา: ไทยรัฐ ฉบับวันที่   http://www.thairath.co.th/content/region/361478


ม็อบอุรุพงษ์
ที่มา ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 10 ต.ค. 2556 http://www.posttoday.com/media/content/2013/10/10/0BBED83EE761473ABCCA0768DC5A5D73.jpg



ม็อบสามเสน
ที่มา สำนักข่าวทีนิวส์ วันที่ 4 พ.ย. 2556 http://www2.tnews.co.th/userfiles/image/1(435).jpg


สาเหตุของการประท้วงในครั้งนี้ มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น จากการตรวจสอบของฝ่ายค้านในเรื่องการทุจริตโครงการจำนำข้าว โครงการเงินกู้โดยออกกฎที่ฝ่ายค้านไม่สามารถตรวจสอบได้ และที่มวลประชาทุกคนยอมรับไม่ได้มากที่สุดคือ ความอหังการ ของ ส.ส.รัฐบาลเพื่อไทยในการออก พรบ.นิรโทษกรรมให้นายทักษิณ ชินวัตร พี่ชายนายกยิ่งลักษณ์ และแกนนำเสื้อแดง ซึ่งก่อนหน้านั้น ได้กระทำผิดกฏหมายจนถูกศาลอาญานักการเมืองได้ตัดสินลงโทษให้ติดคุก 2 ปี แต่ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศเสียก่อน

การออก พรบ.นิรโทษกรรม มีการยื่นในวาระแรกเพียงต้องการจะช่วยเหลือประชาชนผู้หลงผิดเข้าร่วมประท้วงในสมัยนายอภิสิทธิ์ เป็นนายก ในครั้งนั้นมีการทำผิดถึงขั้นเผาตึก ยึดถนนราชประสงค์ประท้วงนานหลายเดือน ทำร้ายทหาร และผู้ประท้วงโดยกองกำลังชายชุดดำ แต่เมื่อในขั้นตอนการตั้งกรรมการร่วมยกร่างมีการสอดแทรกข้อความให้มีการยกเลิกไม่เอาผิดกับการกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ นช.ทักษิณ ได้กระทำเอาไว้ ตั้งแต่ ปี 2547-2556 เช่น การฆ่าตัดตอน (ยาเสพติด) คดีการประท้วงของชาวบ้านที่ อ.ตากใบ จนมีคนเสียชีวิต 78 คน เป็นต้น และได้นำผลการแก้ไขในขั้นกรรมาธิการมาพิจารณาในสภาเสร็จสิ้น สามวาระในวันเดียวในเวลาตีสี่ ด้วยเสียงท่วมท้น 310 เสียง ทำให้เกิดความไม่พอใจให้กับประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทุกคน ซึ่งเห็นว่าเป็นการกระทำที่พวกมากลากไป และคิดว่ามีคนชักนำที่เป็นทักษิณควบคุมอยู่เบื้องหลัง กลุ่ม ส.ส.ที่ทักษิณ ซื้อตัวมาจำเป็นต้องยกมือ ตามคำสั่งเจ้านาย จึงถูกขนานนามว่า สภาทาส


บรรยากาศการประชุมสภา พรบ. นิรโทษกรรม
ที่มา เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x385/cover/315276.jpg

ความคับข้องใจดังกล่าว จึงได้มีแกนนำการประท้วงดังกล่างข้างต้น และเชิญชวนให้ประชาชนคนไทยที่รักความเป็นธรรมออกไปเดินขบวน ในอาทิตย์วันที่ 24 พ.ย. 2556 ผลการเชิญชวนในครั้งนั้น มีผู้เข้าร่วมประชุมนับล้านคน ในขณะที่ CNN รายงานข่าวว่ามีประชาชนประมาณ สองล้านคน เข้าร่วมเดินขบวน


ความไม่พอใจของประชาชนทุกกลุ่มต่อ พรบ. นิรโทษกรรม

ในขั้นแรกกลุ่มของนายสุเทพ ได้จัดตั้งม็อบ ณ สถานีรถไฟสามเสน ตั้งเป้าผู้ชุมนุม สามแสนคนเมื่อได้ตามเป้าจึงได้เคลื่อนย้ายไปถนนราชดำเนิน ตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และตั้งเป้าผู้ชุมนุมหนึ่งล้านคน ดังนั้นในวันที่ 24 พ.ย. 2556 มีผู้ชุมนุมมืดฟ้ามัวดิน เต็มท้องถนนได้หลั่งไหลเข้ามาถนนราชดำเนิน


ม็อบราชดำเนิน ที่มา: เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/imagecache/670x385/cover/475224.jpg

ในวันที่ 25 พ.ย. 56 จึงได้เปิดยุทธการดาวกระจาย แยกกลุ่มคนออกเป็น 13 กลุ่ม ด้วยกัน ได้แก่ กลุ่ม 1 นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณเคลื่อนขบวนไป สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง กลุ่ม 2.ไปกองบัญชาการทหารสูงสุด แจ้งวัฒนะ 3.กองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง 4.กอบทัพบก หา ผบ.ทบ. 5.กองบัญชาการกองทัพเรือ หา ผบ.ทร. 6.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 7. กองบัญชาการตำรวจนครหลวง 8.ช่อง3 9.ช่อง5 10.ช่อง7 11.ช่อง 9 mcot 12. ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และ 13.กระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้เป็นยุทธศาสตร์เพื่อหาแนวร่วมจากกลุ่มข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนในกลุ่มสื่อสารมวลชนเพื่อให้ประชาชนสอบถามว่าองค์กรเหล่านั้นทำงานเพื่อใคร ส่วนสำนักงบประมาณก็มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานหยุดการทำงาน ปิดการใช้เงินของรัฐบาล และในวันนั้นเองนายสุเทพ ได้ปักหลักนำกลุ่มมวลชนพักค้างคืนที่นั้นอีกแห่งหนึงต่อไป

วันที่ 27 พ.ย. 56 ได้ดาวกระจายไปยังกระทรวงทุกกระทรวง ให้เจ้าหน้าที่หยุดการทำงาน และรณรงค์ให้ชาวบ้านที่อยู่ต่างจังหวัดให้ไปรวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัดเพื่อให้มีการหยุดการทำงาน ปรากฏว่ามีหลายจังหวัดที่ประชาชนได้ทำตามที่นายสุเทพพูด เช่น จังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล สุราษฎร์ฯ ภูเก็ต รวมทั้งจังหวัดในภาคอีสาน และภาคเหนือ ในวันนั้นเองตำรวจได้ขอให้ศาลอนุมัติออกหมายจับนายสุเทพ ข้อหากบฎ และร่วมกันทำความผิดฐานยุยงให้เกิดการหยุดงาน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ในขั้นต้นศาลได้ไม่อนุมัติในข้อหากบฏ แต่อนุมัติในข้อหาอื่น

อย่างไรก็ตามเมื่อมีประชาชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ทางรัฐบาลก็ยังไม่ยอมลาออกหรือยุบสภา และยังคงทำงานต่อไป ทั้งนี้ในวันที่ 26 และ 27 พ.ย. 56 มีฝ่ายค้านได้เสนอยัติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 

ความคืบหน้าจะเป็นอย่างไร สุดที่จะพยากรณ์ได้ 


วันพฤหัสบดีที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ

สืบเนื่องจาก สกอ. กำหนดตัวบ่งชี้ ที่ 7.3  เรื่องระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ ให้มหาวิทยาลัยต้องดำเนินการ เมื่อมหาวิทยาลัยมอบหมายให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศรับผิดชอบ มันจึงเป็นเรื่องที่น่าสนุกไม่น้อย ซึ่งผมเองอยากจะเล่นเรื่องนี้มาตั้งนานแล้วว่าเมื่อไรที่ผู้บริหารจะคิดนำการบริหาร การติดสินใจมาใช้งานสักที  เคยทำให้เป็นต้นแบบให้ผู้บริหารดูแต่ Not responding 

Executive information System : EIS หรือ Executive Support System : ESS เป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง โดยวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลที่เก็บเอาไว้อย่างเป็นระบบในฐานข้อมูล นำมาประมวลผล แล้วแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย รวดเร็วในการตัดสินใจ เช่น การแสดงผลเป็นกราฟ แผนภูมิต่าง ๆ ในกระบวนการประมวลผลอาจนำข้อมูลเก่า ๆ มาใช้ฟังก์ชั่นเพิ่มเติม เช่น การวิเคราะห์แนวโน้ม (trend analysis) การพยากรณ์ แล้วนำผลลัพธ์มาช่วยในการวางแผนกลยุทธ์  ใช้สำหรับติดตามสถานการณ์ปัจจุบัน ยกตัวอย่างในกรณี นำ EIS มาใช้ในมหาวิทยาลัย เช่น 

  1. ผู้บริหารอยากทราบสถานการณ์จำนวนนักศึกษาทั้งหมด ณ เวลานั้นจริง ๆ จำแนกตามคณะ จำแนกตามเพศ จำแนกตามภูมิลำเนา
  2. ต้องการหาแนวโน้มว่านักเรียนที่สนใจจะสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมีคณะใดบ้าง สาขาใด ได้รับความนิยมในปีหน้า หรือปีต่อไป
  3. ผู้บริหารอยากทราบว่าจำนวนห้องเรียนที่มีอยู่จะรองรับนักศึกษาที่รับเข้ามาใหม่ได้หรือไม่
  4. ผู้บริหารอยากทราบว่าอาจารย์จะรองรับกับจำนวนนักศึกษาหรือไม่ อาจารย์สาขาใดมีภาระงานเกินที่จำเป็นต้องรับเพิ่ม หรือสาขาใดมีภาระงานน้อย
  5. ตึกหรืออาคารที่สร้างขึ้นใหม่จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีห้องน้าผู้หญิงเท่ากับจำนวนผู้ชาย ในเมื่อแนวโน้มน.ศ. ผู้หญิงมีอัตรามากกว่าผู้ชาย และการใช้เวลาทำธุระไม่เท่ากัน 
  6. ผู้บริหารอยากทราบว่าการใช้งบประมาณเป็นอย่างไร เป็นไปตามเป้าหรือไม่ จะต้องติดตามการใช้งานโครงการใดบ้าง
  7. ผู้บริหารอยากทราบค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค จำแนกแต่ละชนิด เพื่อจะได้นำไปลดค่าใช้จ่ายในด้านใดบ้าง
  8. ผู้บริหารอยากจะให้ความดีความชอบ เลื่อนขั้นเงินเดือน กับพนักงานในแต่ละคนได้ถูกต้อง ไม่มีข้อครหา เพราะระบบฐานข้อมูลเก็บข้อมูลภาระงาน การลา การขาด การประเมินบุคลากรเอาไว้หมดแล้ว
  9. ฯลฯ

ระบบสารสนเทศมันสามารถช่วยเรื่องเหล่านี้ได้ 

ลักษณะของ EIS 

EIS ที่ดีจะต้องเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และเป็นจริง ที่เรียกว่า Data warehouse หรือ data mart ที่ถูกบันทึกอยู่ในระบบฐานข้อมูลหมดแล้ว

การประมวลผล ในเชิงลึก หรือการพยากรณ์ ต้องใช้ฟังก์ชันที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือสูง

การแสดงผล ควรแสดงเป็นแผนภูมิ กราฟประเภทต่าง ๆ ให้ตรงกับงาน ในขณะเดียวกันหากผู้บริหารอยากทราบรายละเอียด ก็สามารถคลิกดูรายละเอียดในเรื่องนั้น ๆ ได้

ระบบที่ดีควรตอบสนองทุก ๆ อุปกรณ์ที่เป็นไอที เช่น เครื่องสมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต โน้ตบุ๊ค และพีซีทั่วไป และจะต้องรองรับเครือข่าย WWW 

ทั้งหมดนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาของเรานับว่าเป็นความโชคดีของเราที่มีฐานข้อมูลระบบ MIS ได้จัดทำไว้เรียบร้อยแล้ว หากทุกหน่วยงานนำข้อมูลบันทึกเข้าสู่ระบบทุก ๆ ฝ่าย การพัฒนาระบบ EIS ก็จะง่ายมากขึ้น





วันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

เมื่อต้องการทำลิงค์ Read more ให้เป็นปุ่ม ใน Wordpress

จากบทความที่แล้ว สร้างลิงค์ Read moreให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน เพื่อให้สวยงามขึ้นอีกขั้นหนึ่ง จึงทำเป็นปุ่มแทนลิงค์ มีหน้าตาคล้ายกับปุ่มของ Facebook การแก้ไขก็แก้ที่ css file เช่นเดิมคือ style.css มีขั้นตอนดังนี้

  • login to server
  • # cd  /var/.../..../wordpress/wp-content/themes/tarski/
  • # nano style.css
แก้ไข ส่วนของบรรทัดสุดท้ายจากเดิมที่เคยทำลิงค์สีน้ำเงินเอาไว้

.entry-content a,
.entry-summary a{/* CONTINUE READING */
color: #0000FF;
font-weight:bold;
text-decoration: none;
font-size: 15px;

}

.entry-content a:hover,
.entry-summary a:hover{/* CONTINUE READING */
color: #FF00;
text-decoration: underline;
}

เอาคำสั่งตัวสีแดงออกใช้คำสั่งนี้ต่อไปนี้แทน

        -webkit-box-shadow:rgba(0,0,0,0.0.1) 0 1px 0 0;
 -moz-box-shadow:rgba(0,0,0,0.0.1) 0 1px 0 0;
 box-shadow:rgba(0,0,0,0.0.1) 0 1px 0 0;
 background-color:#5B74A8;
 border:1px solid #29447E;
 font-family:'Lucida Grande',Tahoma,Verdana,Arial,sans-serif;
 font-size:12px;
 font-weight:700;
 padding:2px 6px;
 height:28px;
 color:#fff;
 border-radius:5px;
 -moz-border-radius:5px;
 -webkit-border-radius:5px;
  • Save ด้วยการกดปุ่ม Ctrl+O
  • ทดลอง refresh หน้าจอ wordpress
อ้างอิง http://graemeboy.com/css-buttons/

วันศุกร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖

Customize Read more link in Wordpress

การแก้ไขสีและขนาดตัวอักษรของลิงค์ Read more ของ Wordpress มีคนแนะนำวิธีการทำหลากหลายวิธี แต่สำหรับวิธีที่ใช้กับธีมของ Tarski มีดังนี้


  • login to server
  • # cd /var/..../..../wordpress/wp-content/themes/tarski/
  • # nano style.css
  • พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ต่อท้ายบรรทัดสุดท้าย

.entry-content a,
.entry-summary a{/* CONTINUE READING */
color: #0000FF;
font-weight:bold;
text-decoration: none;
font-size: 15px;
}

.entry-content a:hover,
.entry-summary a:hover{/* CONTINUE READING */
color: #FF00;
text-decoration: underline;
}



  • Save Ctrl + O, > Enter
  • Refresh Website
อ้างอิง:
http://wordpress.org/support/topic/changing-font-sizecolor-of-continue-reading

วันศุกร์ที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

การออกแบบฐานข้อมูล กรณีศึกษา การส่ง SMS ชิงโชคของอิชิตัน

วันนี้ได้เห็นฝาขวดกรีนทีของอิชิตัน เขียนว่า ส่งรหัสมั่ว ซ้ำเกิน 3 ครั้ง ถูกตัดสิทธิ์!!!
 สืบเนื่องมาจากการอิชิตันส่งเสริมการขายมีนโยบายให้ส่งรหัสใต้ฝาผ่าน SMS เพื่อชิงโชค แล้วอาจเกิดมีคนทดลองส่งข้อมูลมั่ว ๆ เพื่อหวังให้ได้โชคทองเป็นล้าน หรือไอโฟน5

ปัญหาเหล่านี้จะแก้ไขได้ถ้าผู้ผลิตฝาขวด และนักวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ของระบบรับ SMS ชิงโชคดังกล่าว มีความรู้ที่ถูกต้อง



1. การแก้ปัญหารหัสมั่ว ผู้ผลิตจะต้องมีมาตรฐานในการสร้างรหัสโดยสร้างหลักสุดท้ายสำหรับตรวจสอบที่ได้จากการคำนวณหลักต่าง ๆ มาบวก ลบ คูณ หาร กัน (แล้วแต่ผู้สร้างจะกำหนด ซึ่งปกติเขาจะไม่แจ้งสูตรให้คนทั่วไปทราบ) แล้วได้ผลลัพธ์มาหนึ่งค่าแล้วมาหารเอาเศษ (modulus)  ด้วย 10 ซึ่งผลที่ได้จะมี 0-9 ดังนั้นเมื่อใครก็ตามที่ส่ง SMS มาก็จะต้องประมวลผลหาหลักสุดท้ายก่อน ถ้าตัวเลขหลักสุดท้ายถูกต้อง ก็แสดงว่า ผู้ส่ง SMS มาจากฝาจริง แต่ในทางกลับกันถ้าผิดแสดงว่าส่งรหัสมั่วมา คนเขียนโปรแกรมรับ SMS ก็ไม่ต้องบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ แบบนี้สามารถแก้ปัญหาจากลูกค้าส่งรหัสผิดพลาดที่เกิดจากมองตัวเลขไม่ชัดได้  และปัญหาที่เกิดจากผู้ส่งต้องเก็บฝาเอาไว้เป็นหลักฐานก็ไม่ต้องมาดูอีก

2. ในการแก้ปัญหาการส่งรหัสตัวเดิมซ้ำ แก้ได้โดยออกแบบฐานข้อมูล ให้กำหนดรหัสใต้ฝาเป็น Primary Key ในตารางที่รับข้อมูลจาก SMS ออกแบบมาอย่างน้อยต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

-------------------------------------------------
รหัสฝา                                          PK            
-------------------------------------------------
หมายเลขโทรศัพท์
-------------------------------------------------

บทสรุป ตามหลักทฤษฎีของฐานข้อมูลแล้ว เมื่อไรก็ตามที่เรากำหนดให้ฟิลด์ใด ๆ เป็น Primary Key
ฟิลด์นั้นจะไม่สามารถบันทึกข้อมูลนั้นซ้ำเข้าสู่ตารางได้เลย

หวังว่า แนวคิดง่าย ๆ แบบนี้คงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ยังแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้

สำหรับนักศึกษาสาขาคอมพิวเตอร์ ที่ทำโปรเจ็คแล้วมีข้อผิดพลาดจากการออกแบบ ขอให้พึงหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดง่าย ๆ แบบนี้ ที่มิอาจยอมให้ผ่านได้


วันศุกร์ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖

นโยบายและแนวทางการบริหารโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์

สวัสดีครับ พี่น้องชาวคอมพิวเตอร์ที่รักทุกคน

ขอขอบคุณที่พี่ ๆ น้อง ๆ ให้เกียรติให้ผมได้ทำหน้าที่เป็นประธานโปรแกรมวิชาอีกครั้งหนึ่ง

ทุก ๆ ตำแหน่งหน้าที่ ผมคิดว่า ต่างก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพียงแต่เรามีความคิดว่าทุกหน้าที่ของเราจะทำให้ดีที่สุด จะทุ่มเทกำลัง ความคิด เวลา ทุกสิ่งทุกอย่างที่พึงมีให้แก่งานนั้น ๆ แม้แต่งานสอนในห้องในแต่ละคาบก็ตาม

ในการบริหารงานโปรแกรมก็เช่นกัน ผมได้ปรารภแสดงความเห็นกับพี่ ๆ น้อง ๆ หลายคนว่า เราควรไปในทิศทางใด ก็ได้รับฟังความเห็นและแลกเปลี่ยนกันไป เป็นการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ

ในบล็อกนี้ก็เป็นการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการเช่นกัน ซึ่งในครั้งนี้จะได้พูดถึงนโยบายโดยรวมของผมที่จะเกิดขึ้น

ผมตั้งโจทย์เอาไว้ไม่กี่ข้อ แต่ต้องการจะทำมากๆ นั่นคือ


  • การที่จะทำอย่างไรให้นักศึกษาของเราจบภายใน 4 ปีอย่างมีคุณภาพ
  • จะทำอย่างไรให้อาจารย์ทุกท่านได้ตำแหน่งทางวิชาการ
  • จะทำอย่างไรให้โปรแกรมของเรามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

 จริง ๆ แล้วมีหลายข้อ แต่ถ้าตั้งไว้หลายอย่างอาจไม่ประสบผลสำเร็จเลยสักอย่างเดียว
ดังนั้น จึงอยากจะตั้งเป้าหมายเอาไว้ในแต่ละด้านว่า


  • นักศึกษาจะจบการศึกษาภายใน 4 ปีมากกว่า 50% ภายในปีการศึกษา 2556 และ 80% ในปีถัดไป 
  • อาจารย์จะมีตำแหน่งทางวิชาการหรือได้เลื่อนตำแหน่งมากกว่า 50% ของผู้มีคุณสมบัติทั้งหมด
  • นักศึกษาได้ไปเข้าร่วมแข่งขันทักษะ อาจารย์ได้ไปนำเสนอผลงานมากขึ้น
ดังนั้นงบประมาณและกิจกรรมต่าง ๆ ของเราจะมุ่งเน้นทั้ง 3 ด้านนี้ให้มากเป็นพิเศษ

จึงอยากฝากให้คณาจารย์ทั้งหลายได้ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จัดกิจกรรมและงบประมาณ 
และอยากทราบความสมัครใจในการจะช่วยในภาระกิจโปรแกรมวิชาของเราในตำแหน่งด้านใดบ้าง โดยแบ่งงานออกเป็นคร่าว ๆ ดังนี้
  • ด้านพัฒนาบุคลากร
  • ด้านพัฒนานักศึกษา
  • ด้านบริหารสำนักงาน ครุภัณฑ์ และงบประมาณ
  • ด้านการประกันคุณภาพ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พี่ ๆ น้อง ๆ ต่างก็มีความรัก ความปรารถนาดีต่อการที่จะพัฒนาโปรแกรมวิชาของเราให้ก้าวหน้าต่อไป