เดิม six sigma เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพในการผลิตสินค้าของบริษัทผลิตชิปไอซียี่ห้อโมโตโรล่า คิดกระบวนการผลิตสินค้าอย่างไรให้มีคุณภาพสูงที่สุด สินค้ามีโอกาสเสียหายเพียง 3.4 ชิ้นในหนึ่งล้านชิ้นเท่านั้น ซึ่งเป็นที่มาของหลักสถิติทีว่า 6 ซิกม่า นั่นเอง ปัจจุบัน six sigma ได้นำมาใช้ในทุกแขนงอุตสาหกรรม และหลายหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำเอาวิธีนี้สร้างคุณภาพลดการสูญเสีย อันเป็นการลดต้นทุน ยกตัวอย่าง เช่น ฝ่ายซ่อมบำรุงการบินไทย ได้ประมาณการลดต้นทุนได้ในปี 2000 ถึง 15.2 ล้านยูเอสดอลลาร์ อยากทราบหลักการของ six sigma เป็นอย่างไรทำไมจึงดีมากมายเช่นนี้ ให้ลองค้นหาคำนี้จาก google ดูได้ แต่ผมพอสรุปแบบคร่าว ๆ ได้ดังต่อไปนี้
- Six sigma นำมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในเชิงธุรกิจ โดยมีจัดมุ่งหมายเพื่อลดความผันแปร (variation) ของกระบวนการ เพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และเพิ่มกำไรขององค์กร
- วิธีการหรือยุทธศาสตร์ของ six sigma ใช้คือ DMAIC ซึ่งย่อมาจาก Define, Measurement, Analyse, Improvement, และ Control
- Define หมายถึง การกำหนดปัญหา ปัญหาที่ต้องการจะแก้ด้วยวิธีการต่าง ๆ มีการสร้างทีมงานทำงานเป็นทีม มีการจัดตั้งโครงการ มีแผนดำเนินงาน มีข้อกำหนดความต้องการของลูกค้า มีการกำหนดผลลัพธ์ที่ได้ และสุดท้ายจะต้องทำเอกสารประกอบเป็นข้อความและภาพไดอะแกรมการทำงานประเภทต่าง ๆ
- Measurement หมายถึง ขั้นตอนการวัดมีไว้เพื่อยืนยันและหาจำนวนปัญหา ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดว่าจะวัดอะไรบ้าง แล้วจึงลงมือวัดจริง และคำนวณว่าอยู่ที่ซิกม่าที่เท่าไร ให้กำหนดว่าจะทำให้กระบวนการเพิ่มความสามารถได้อย่างไรบ้าง สุดท้ายได้แก่ การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน
- Analyze เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดเก็บในขั้นตอนที่สอง เพื่อหาปัญหาหลัก และวิเคราะห์หาวิธีการแก้ปัญหา ในขั้นตอนการวิเคราะห์มีประเด็นย่อยที่ต้องดำเนินการได้แก่ กำหนดว่าอะไรเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อน การแก้ปัญหาควรใช้วิธีระดมสมอง ให้กำหนดว่าสิ่งใดจะทำให้ลูกค้าเห็นว่า สินค้าที่ผลิตออกมาตรงกับความต้องการ สร้างแผนผังกระบวนการทำงาน และประเมินความเสี่ยงที่มากับการปรับปรุงใหม่
- Improvement หมายถึง การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นมีขั้นตอนการทำทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ การจัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง การวางแผนในการนำไปปฏิบัติ การยืนยันให้สัตยาบันในการเปลี่ยนแปลง
- Control เป็นขั้นตอนการควบคุมที่มีขั้นตอนย่อย 5 ขั้นตอน ได้แก่ จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและการตรวจสอบ มีพัฒนากลยุทธการควบคุม ให้ชมเชยหรือรางวัลและประกาศยกย่องผลสำเร็จแก่ทีมงาน นำแผนการควบคุมไปปฏิบัติ
ภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนของ Six sigma Methodology
เมื่อเห็นขั้นตอนการทำงานแล้วมันเกี่ยวกับไอทีได้อย่างไร ก็ให้นึกถึง SDLC หรือ Waterfall จะเห็นว่าเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกัน แต่ของ six sigma จะเน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพได้แก่การสำรวจที่เรียกว่า CTQ หรือ Critical to Quality และมีทีมงานที่ได้รบการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีมีวุฒิบัติอย่างถูกต้อง เขาเรียกวุฒิบัติแต่ละกลุ่มเป็นเข็มขัดสีต่าง ๆ เหมือนนักยูโด โดยผู้ที่มีคุณวุฒิสูงสุดได้ Project champion รองลงมาได้แก่ master black belt ถัดจากนั้นเป็น black belt สุดท้ายได้แก่ green belt เป็นต้น เขาว่ากันว่าถ้าใครทำไปตามขั้นตอนได้ถูกต้องตรงกับหลักการ จะทำให้สินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูงที่สุดเหนือยุทธศาสตร์คุณภาพแบบอื่น ๆ เชื่อเขาหรือไม่ให้ลองศึกษาและทดลองนำมาใช้กับองค์กรดูได้เลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น